วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

วิธีป้องกันหูดหงอนไก่

วิธีป้องกันหูดหงอนไก่
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาหูดหงอนไก่ได้อย่าง 100% (เนื่องจากหูดชนิดนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก คือ ติดต่อได้จากผิวหนังสู่ผิวหนัง) แต่เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
 
1. มีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะจะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น

2.หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) แม้การใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่สามารถป้องกันหูดหงอนไก่ได้ 100% แต่ก็เป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี (สาเหตุที่ถุงยางอนามัยอาจป้องกันหูดหงอนไก่ได้ไม่เต็มที่ นั่นเป็นเพราะว่าเชื้อเอชพีวีมักจะกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยครอบคลุมไม่ถึงนั่นเอง)

3.เมื่อพบรอยโรคต้องสงสัยหรือความผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นหูดหงอนไก่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาให้หายก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่บริเวณเนื้อเยื่อเมือกอื่น ๆ หรือการติดต่อสู่ผู้อื่น

4.ในปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์สำคัญออกมาในเข็มเดียวกัน คือ HPV 6, 11 ซึ่งเป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ 90% และ HVP 16,18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70% วัคซีนนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6, 11, 16, 18 ได้ประมาณ 99% หากฉีดก่อนการติดเชื้อ ดังนั้น จึงแนะนำให้ฉีดได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุระหว่าง 11-12 ปี สำหรับการป้องกันหูดหงอนไก่ หลังจากฉีดวัคซีนแล้วก็ยังแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยต่อไปและมีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน เนื่องจากวัคซีน HPV 6, 11 นั้น สามารถป้องกันโรคนี้ได้ 90% ของผู้ติดเชื้อเฉพาะที่เกิดจาก HPV 6, 11 เท่านั้น (ส่วนการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจาก HPV 16, 18 นั้น แม้ว่าจะฉีดวัคซีนทำให้มีภูมิคุ้มกันไปแล้ว แต่ก็ควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำด้วย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกมีอยู่หลายชนิด และอาจไม่ได้เกิดจาก HPV 16, 18 เพียงอย่างเดียว)

 



ปรึกษาหรือสนใจสั่งซื้อได้ที่

Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)

สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

หรือ  https://www.facebook.com/raksahood

วิธีรักษาหูดหงอนไก่

วิธีรักษาหูดหงอนไก่

ด้วยโครงสร้างของเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เชื้อนั้นไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของสิ่งแวดล้อมที่เชื้ออาศัยอยู่ได้ แพทย์จึงสามารถกำจัดเชื้อนี้ได้ด้วยการใช้ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือใช้ยาเคมีบำบัดบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหูดที่มีขนาดเล็กย่อมรักษาได้ง่ายกว่า โดยพบว่าถ้าหูดมีขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรก็มักจะรักษาด้วยยาได้สำเร็จ แต่ถ้าหูดมีขนาดใหญ่กว่านั้นก็อาจจะต้องเลือกใช้วิธีอื่นในการรักษาแทน

ส่วนประสิทธิภาพในการรักษาแต่ละวิธีก็แตกต่างกันไปและทุกวิธีก็มีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา เพราะพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 50-70% ที่ได้รับการรักษาจนหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีกภายหลังหนึ่งปี ทั้งมาจากการติดเชื้อซ้ำใหม่หรือจากการกลับมาเป็นซ้ำจากเชื้อเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ในบริเวณเดิม แต่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงไม่ได้รับการรักษาให้หมดไปจากการรักษาในครั้งแรก และโดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งจะดื้อต่อการรักษาและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง

เป้าหมายในการรักษาโรคหูดหงอนไก่ คือ เพื่อความสวยงาม เพื่อบรรเทาอาการ และลดความกังวลใจของผู้ป่วย ส่วนวิธีในการรักษาก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบการใช้ยาหรือการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดหูดออกไป แพทย์เป็นผู้ทำให้หรือให้ผู้ป่วยทำเอง หากสงสัยว่าตนเองเป็นหูดหงอนไก่ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเพื่อตรวจแยกโรคนี้ออกจากโรคอื่น ถ้าพบว่าเป็นหูดหงอนไก่จริง แพทย์อาจให้การรักษาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้*


ทาด้วยยาโพโดฟิลลิน (Podophyllin) ชนิด 25% แต่ต้องระวังไม่ให้ถูกเนื้อดี โดยให้ใช้วาสลีนทาปิดเนื้อดีโดยรอบเอาไว้ก่อน หลังจากทายาประมาณ 4-6 ชั่วโมงแล้วให้ล้างออก และต้องทาซ้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจนกว่ารอยโรคจะหาย ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรค ตัวยานี้จะมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองหรือแสบบริเวณที่ทายาได้ แต่ถ้ารักษาด้วยวิธีนี้เกิน 2 เดือนแล้วยังไม่หายควรเปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาแบบอื่นแทน (ยานี้ห้ามใช้ในหูดหงอนไก่ที่ขึ้นบริเวณปากมดลูกหรือภายในช่องคลอดและห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 20-35%



 

ปรึกษาหรือสนใจสั่งซื้อได้ที่

Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)

สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

หรือ  https://www.facebook.com/raksahood

 

ลักษณะของหูดหงอนไก่ รูปหูดหงอนไก่

ลักษณะของหูดหงอนไก่ 

หูดจะขึ้นเป็นติ่งเนื้องอกอ่อน ๆ มีสีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ ซึ่งจะเริ่มจากรอยโรคเล็ก ๆ แล้วขยายตัวลุกลามใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ บางชนิดอาจเป็นหูดชนิดแบนราบ มักพบได้ที่บริเวณปากมดลูก (ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ 16), อาจเป็นหูดชนิดกลุ่ม ลักษณะเป็นตุ่มขนาด 3-4 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย มักเกิดขึ้นที่เดียวพร้อมกันหลายตุ่มและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ 16, 18) หรืออาจเป็นหูดก้อนใหญ่ โดยมีลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมาก จนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุมอวัยวะเพศไว้ทั้งหมด บางคนอาจเรียกหูดชนิดนี้ว่า "หูดยักษ์" (ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ 16) ลักษณะของรอยโรคจึงมีได้หลายรูปแบบทั้งขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป






 ปรึกษาหรือสนใจสั่งซื้อได้ที่

Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)

สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

หรือ  https://www.facebook.com/raksahood

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ยารักษาหูดหงอนไก่ | ขายยารักษาหูดหงอนไก่(HPV)

ขายยารักษาหูดหงอนไก่ Podo ขวดละ 480 บาท  หูดหงอนไก่(HPV)

สั่งทาง Facebook คลิก >>   https://www.facebook.com/raksahood
สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

โรคหูดหงอนไก่(Condyloma acuminatum)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่น่ากลัวไม่ใช่มีแค่ “โรคเอดส์” , “โรคซิฟิลิส” และ “หนองใน” เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายโรคที่แม้จะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้าใครเป็นขึ้นมาก็ทำลายความมั่นใจไปได้มากทีเดียว อย่างเช่น หูดที่อวัยวะเพศ หรือ “หูดหงอนไก่” โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังพบได้มากในปัจจุบัน แถมยังสามารถกลับมาเป็นได้ซ้ำ ๆ ซึ่งมั่นใจได้เลยว่าไม่มีใครอยากเป็นแน่ ๆ

โรคหูดหงอนไก่ คืออะไร
โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่ที่เรียกว่า Condyloma acuminatum เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) ซึ่งมีมากกว่าร้อยชนิด โรคหูดส่วนใหญ่ร้อยละ 90 เกิดจากเชื้อ HPV type 6,11ซึ่งไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ชนิดที่อาจจะก่อให้เกิดมะเร็งได้แก่ชนิด types 33, 35, 39, 40, 43, 45, 51-56, 58 ชนิดชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งได้มากได้แก่ชนิด (types 16, 18)
หูดหงอนไก่หรือหูดที่อวัยวะเพศก็เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังคงพบได้มากในปัจจุบันถึงแม้จะมีการรณรงค์การป้องกันดีอย่างไรก็ตาม แต่เนื่องจากลักษณะนิสัยของไวรัสต้นเหตุที่เรียกว่าฮิวแมน แปปิโลมาไวรัส (เอชพีวี)ที่ถ่ายทอดถึงกันได้ง่ายโดยผู้ที่ให้เชื้ออาจจะไม่มีอาการอะไรเลย และผู้รับเชื้ออาจได้รับเชื้อนั้นมานานหลายปีกว่าจะเกิดอาการ ในปัจจุบันพบว่าหญิงชายวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 1 มีหูดหงอนไก่ โดยจะพบรอยโรคในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งทำลายความมั่นใจในชีวิตอย่างมาก รวมทั้งต้องเสียเงินและเวลาในการรักษามากมาย แต่สุดท้ายกลับพบว่า ร้อยละ 30- 70 กลับมาเป็นหูดหงอนไก่ซ้ำหลังจากหยุดการรักษาไป 6 เดือน

ไวรัสเอชพีวี (HPV) คือ เชื่อของไวรัสกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมไวรัสต่างๆ มากกว่า 100 ประเภท ซึ่งไวรัสเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อบนพื้นหน้าของผิวหนัง ไวรัสเอชพีวีบางประเภททำให้เกิดหูดที่มือหรือเท้า ในขณะที่ประเภทอื่นๆ ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามบางครั้งการติดเชื้อเอชพีวีก็ไม่ทำให้เกิดหูดและคนจำนวนมากที่มีเอชพีวีที่อวัยวะเพศไม่ทราบว่าตนเองมีไวรัสนี้ ไวรัสที่ทำให้เกิดหูดส่วนมากจะถูกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดให้หายไปเอง

หูดที่อวัยวะเพศหน้าตาเป็นอย่างไร  หูดที่อวัยวะเพศเป็นก้อนเนื้อหรือตุ่มที่เกิดขึ้นที่แคมช่องคลอด ในหรือรอบๆ บริเวณอวัยวะเพศหญิงหรือทวารหนัก บนปากมดลูก  บนองคชาต ถุงอัณฑะ ขาหนีบ หรือต้นขา อาจจะนูนหรือราบ ตุ่มเดียวหรือหลายๆตุ่ม เล็กหรือใหญ่ บ้างจุดสังเกตที่ทำให้วินิจฉัยได้ ว่าเป็น “หูดหงอนไก่” นั้นก็คือ หูดจะมีลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำ หรือแบบหงอนที่หัวไก่ชน เป็นติ่งเนื้ออ่อน ๆ สีชมพู









จำหน่ายโพโด Podo ขวดละ  480 บาท จัดส่งฟรี


ขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า – ชำระค่าสินค้า – แจ้งการชำระค่าสินค้า

 1. การสั่งซื้อสินค้า


ลูกค้าทุกท่านสามารถเลือกวิธีการสั่งซื้อได้ตามช่องทางที่สะดวก 


      Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)
     หรือ  https://www.facebook.com/raksahood
 สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z



Review ลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้า















- หูดหงอนไก่คืออะไร
- หูดหงอนไก่เกิดมาจากอะไร

- หูดหงอนไก่อันตรายไหม
- หูดหงอนไก่เป็นแล้วทำไง
- หูดหงอนไก่รักษาหายไหม
- วิธีรักษาหูดหงอนไก่
- ยารักษาหูดหงอนไก่

- ราคายารักษาหูดหงอนไก่
- ยารักษาหูดหงอนไก่

สาเหตุของการติดโรคหูดหงอนไก่
แม้ “หูดหงอนไก่” จะจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่จริง ๆ แล้ว แม้จะไม่มีเพศสัมพันธ์ก็สามารถรับเชื้อนี้เข้าไปได้โดยการสัมผัส เพราะเชื้อเหล่านี้อาจพบได้ตามร่างกาย ผม ซอกเล็บ เครื่องใช้ต่าง ๆ บางคนอาจนำสิ่งของ หรือมือที่เปื้อนเชื้อไวรัส HPV มาสัมผัสอวัยวะเพศ ก็สามารถติดเชื้อไวรัสตัวนี้ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีการสัมผัสระหว่างผิวหนังกับผิวหนังเป็นช่องทางติดต่อที่พบบ่อยที่สุด ส่วนการใช้เครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว สบู่ รวมทั้งการสัมผัสหรือเกา แล้วไปสัมผัสบริเวณอื่น เป็นปัจจัยรองลงมา โดยมีระยะฟักตัวนาน 1-6 เดือน

ตำแหน่งที่พบโรคหูดหงอนไก่
โรคหูดที่อวัยวะเพศหรือหูดหงอนไก่ตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ อวัยวะเพศชาย penis, แคมใหญ่ vulva, ช่องคลอด vagina, ปากมดลูก cervix, บริเวณหัวเหน่า perineum, และบริเวณรอบๆทวารหนัก perianal ตำแหน่งอื่นที่อาจจะพบได้แก่ ช่องปาก คอ หลอดลม      บางแห่งติดเชื้อแต่ไม่มีอาการซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง

ลักษณะของหูดหงอนไก่
หูดหงอนไก่จะมีลักษณะแบน สีออกชมพูหรือดำ มักจะเป็นติ่งงอกขยายใหญ่ เกิดได้หลายๆแห่งโดยเฉพาะบริเวณอับชื้น

การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี(HPV)ที่บริเวณอวัยวะเพศ สามารถทำให้เกิดรอยโรค(หูด)ได้หลายแบบ

หูดหงอนไก่(condyloma accuminata) ลักษณะเป็นติ่งเนื้อสีชมพูงอกบานออกทางด้านนอก ดูคล้ายหงอนไก่ หรือดอกกะหล่ำ ในผู้ชายมักเป็นที่ด้านในของหนังหุ้มปลายองคชาติ บางครั้งอาจเกิดที่ปากท่อปัสสาวะ และอาจงอกลามลึกเข้าไปภายในได้ ผู้ชายรักร่วมเพศ มักพบหูดที่รอบทวารหนักซึ่งอาจลุกลามเข้าไปภายในได้ ผู้หญิงพบบ่อยที่ปากช่องคลอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี     types 6,11
หูดชนิดแบนราบ(smooth papular warts) มักพบบริเวณปากมดลูก ลักษณะแบนราบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี type 16 ปัจจุบันพบว่าหูดชนิดนี้เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก
หูดชนิดกลุ่ม ลักษณะเป็นตุ่มขนาด 3 – 4 มม. สีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบ หรือขรุขระเล็กน้อย มักเกิดขึ้นทีเดียวพร้อมกันหลายตุ่ม และอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี types 16,18
หูดก้อนใหญ่ หรือ หูดยักษ์( Giant Condyloma Accumunata หรือ Buschke-Lowenstein tumor)  ลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมาก จนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุมอวัยวะเพศไว้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี type 6 บางคนอาจเรียกว่าเป็นหูดยักษ์ สาเหตุที่ทำให้หูดโตเร็ว ได้แก่ การตั้งครรภ์ ตกขาว ความสกปรก และการติดเชื้อ
หูดในท่อปัสสาวะ ( Urethral Meatus Warts) เป็นหูดที่มีปัญหาในการรักษามากที่สุด เพราะมักจะไม่หายขาด หายแล้วกลับมาเป็นอีก เพราะนอกจากจะเกิดบริเวณปลายท่อปัสสาวะ ให้เจ้าของเห็นแล้ว ก็อาจยังมีในท่อปัสสาวะที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วย
หูดในทวารหนัก (Intra-Anal Warts) หูดชนิดนี้พบมากในผู้ชายรักร่วมเพศ เยื่อบุในทวารหนักมีลักษณะคล้ายกับบริเวณปากมดลูกจึงมีโอกาสเกิดมะเร็งได้ เช่นเดียวกับปากมดลูก มีรายงานใน New England Journal of Medicine ว่าพบมะเร็งที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ในทวารหนักด้วย ซึ่งแน่นอนว่ามะเร็งนั้นกลายพันธุ์ มาจากหูดที่เกิดจากเชื้อ HPV
หูดในช่องปาก (Squamous papilloma) (Oral Verruca Vulgaris) เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Virus พบได้ร้อยละ 2.5 ของรอยโรคในช่องปากทั้งหมด ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อาการ พบได้บริเวณรอยต่อเยื่อเมือกและผิวหนังของริมฝีปาก และเยื่อเมือกในช่องปาก โดยเฉพาะที่เพดานแข็งและอ่อน ลิ้นไก่ (Uvala) ขนาดของรอยโรคมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 เซนติเมตรและมีลักษณะยื่นขึ้นมาคล้ายดอกกะหล่ำ รอยโรคมักเกิดเดี่ยวๆ และอาจพบหลายๆ รอยโรคในบางครั้งมักไม่มีอาการ มักพบร่วมกับโรคเอดส์

เราได้รับเชื้อไวรัสเอชพีวีหรือเป็นหูดที่อวัยวะเพศได้อย่างไร  เอชพีวีและหูดที่อวัยวะเพศแพร่จากการสัมผัสโดยตรงระหว่างผิวหนังกับผิวหนังระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก อนึ่ง มีความอาจเป็นไปได้ แต่ทว่าไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก ที่การถ่ายทอดเอชพีวีจะเกิดขึ้นในปากจากการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หูดในบริเวณอื่นๆของร่างกาย เช่นที่มือ เกิดจากเอชพีวีคนละประเภท การสัมผัสกับหูดเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ หูดอาจเกิดขึ้นภายในเวลาหลายสัปดาห์หลังจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้มีเชื้อไวรัสนี้ หรือมิฉะนั้นอาจใช้เวลาหลายเดือนกว่าอาการจะปรากฏ หรืออาจไม่ปรากฏอาการเลยก็ได้ นี่จึงเป็นเรื่องยากที่จะทราบอย่างแน่ชัดว่าท่านติดเชื้อไวรัสเมื่อไรและจากใคร

เราจะทราบได้อย่างไรว่าติดเชื้อเอชพีวีหรือหูดที่อวัยวะเพศ   ในบางกรณีก็ยากที่จะสังเกต บางครั้ง คนทั่วไปจะไม่ทราบว่าตนเองมีหูดเนื่องจากหูดอยู่ภายในช่องคลอด หรือบนปากมดลูก หรือในทวารหนัก นอกจากนี้ หูดยังมีสีเนื้อเหมือนสีของผิวหนังและไม่เจ็บ น้อยครั้งมากที่ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่นอาการคัน เจ็บ หรือเลือดออกบางครั้ง จะพบหูดระหว่างการตรวจร่างกาย ในสตรี ผลของการทดสอบ “แพ็พ เทสต์” ที่ผิดปกติ อาจเป็นร่องรอยแรกที่แสดงให้เห็นว่ามีการปรากฎของเอชพีวี อย่างไรก็ตาม การทดสอบ “แพ็พ เทสต์” ไม่ใช่การตรวจหาเอชพีวี



ท่านควรไปพบแพทย์หรือไปที่โรงพยาบาลหากมีอาการดังต่อไปนี้ :

ท่านสังเกตเห็นก้อนเนื้อ ตุ่ม หรือการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบนหรือใกล้องคชาต ช่องคลอด แคมช่องคลอด หรือทวารหนัก ที่ผิดปกติ
ท่านสังเกตว่ามีอาการคัน เจ็บ หรือ เลือดออกที่ผิดปกติ
คู่นอน (คนเดียวหรือหลายคน) ของท่านบอกให้ท่านทราบว่าเขาหรือเธอมีเอชพีวีที่อวัยวะเพศ หรือเป็นหูดที่อวัยวะเพศ
หากสตรีคนใดที่ผลการทดสอบ “แพ็พ เทสต์” ผิดปกติ สตรีผู้นั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือผู้ให้การดูแลด้านสุขภาพอนามัย
อาการของโรคหูดหงอนไก่
1. ผู้ที่สูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิด มีคู่นอนหลายคน หรือมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหูดหงอนไก่
2. ประมาณร้อยละ60ของผู้ป่วยจะเกิดโรคหูดหงอนไก่หลังจากสัมผัสผู้ป่วยไปแล้วประมาณสามเดือน
3. อาการทีสำคัญของผู้ป่วยโรคหูดหงอนไก่ คือ มีก้อนไม่เจ็บปวด อาจจะมีอาการคัน หรือมีตกขาว
4. สำหรับผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์ทางทวาร หรือทางปากอาจจะมีก้อนบริเวณดังกล่าว
5. ผู้หญิงอาจจะมาด้วยเรื่องมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ ส่วนผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องปัสสาวะไม่ออก

โรคหูดหงอนไก่นี้พบบ่อยแค่ไหน
1. โรคหูดหงอนไก่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้ ทุกเพศ ทุกวัย พบบ่อยที่สุด มักจะพบในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว
2. ผู้ที่มีโรคทำให้ภูมิอ่อนแอ เช่น โรคเอดส์ โรคเบาหวาน ผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีขนาดของหูดหงอนไก่ใหญ่กว่าปกติ กลับเป็นซ้ำหรือมีโรคแทรกซ้อน
3. โรคหูดหงอนไก่นี้อาจจะกำเริบในขณะตั้งครรภ์ทำให้หูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่และขวางการคลอดตามธรรมชาติ

แพทย์จะตรวจหาหูดหงอนไก่ได้ที่ไหนบ้าง
สำหรับผู้ชาย
1. พบก้อนได้บริเวณอวัยวะเพศ
2. ส่วนหัวของอวัยวะเพศ
3. หรือเยื่อบุในท่อปัสสาวะ
4. สำหรับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักอาจจะพบก้อนเนื้อหูดหงอนไก่บริเวณรอบทวารหนัก
สำหรับผู้หญิง
1. ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ
2. แคมใหญ่ แคมเล็ก
3. ช่องคลอด

แพทย์จะต้องตรวจพิเศษอะไรบ้าง
การที่ท่านเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แพทย์จะต้องตรวจหาว่าท่านติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างอื่นอีกหรือไม่โดยจะตรวจ
1. หนองในแท้ หนองในเทียม
2. โรคเอดส์ HIV
3. โรคซิฟิลิส
4. ตรวจภายในทำ PAP Smear
5. ตรวจหาการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ โดยการใช้ acetic acid ปิดไว้ห้านาที แล้วใช้แว่นขยายส่อง ซึ่งอาจจะพบรอยโรค
6. การตัดชิ้นเนื้อตรวจ

วิธีรักษาโรคหูดหงอนไก่ในปัจจุบัน รักษาอย่างไร
หลักการรักษาเมื่อพบหูดจะเอาหูดออก หากไม่รักษา ก้อนอาจจะมีขนาดเท่าเดิม หรือหายไปเอง หรืออาจจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเอาก้อนหูดหงอนไก่ออกไม่ได้กำจัดการติดเชื้อไวรัส HPV ออกจากร่างกาย การเอาหูดหงอนไก่ออกจะลดการติดต่อลงเท่านั้น
1. การจี้ด้วยความเย็น Cryotherapy  (การใช้ไนโตรเจนเหลวจี้หูดออก) จะต้องกระทำโดยเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพอนามัย
2. การใช้ไฟฟ้าจี้
3. การขูดเอาเนื้องอกออก Curettage
4. การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก Surgical excision
5. การใช้ Laser Carbon dioxide laser treatment หรือ การผ่าตัด
6. การใช้ยาทาภายนอกได้แก่



   หากทายา Podo แล้วอาการหูดหงอนไก่ยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจใช้วิธีการ “จี้เย็น” “จี้ไฟฟ้า” “เลเซอร์” หรือ “ผ่าตัดหูดหงอนไก่ออก”  ส่วนหญิงมีครรภ์ หากเป็นหูดหงอนไก่อยู่ด้วย หูดจะขยายตัวเร็วมาก เพราะเป็นช่วงที่มีเลือดมาเลี้ยงมาก ดังนั้น ต้องรีบรักษาแต่เนิ่น ๆ แต่ถ้าพบตอนคลอด แพทย์จะผ่าคลอดทางหน้าท้องให้แทนการคลอดตามธรรมชาติ

-----------------------------------------------------------------------
ยารักษาหูดหงอนไก่ , ยาทาหูด , ยาแต้มหูด , podophyllin , โปโดฟิลลิน , โพโดฟิลลิน