วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565

วิธีป้องกันหูดหงอนไก่

วิธีป้องกันหูดหงอนไก่
ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถช่วยป้องกันและรักษาหูดหงอนไก่ได้อย่าง 100% (เนื่องจากหูดชนิดนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก คือ ติดต่อได้จากผิวหนังสู่ผิวหนัง) แต่เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
 
1. มีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับคนที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพราะจะยิ่งมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น

2.หากต้องมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) แม้การใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่สามารถป้องกันหูดหงอนไก่ได้ 100% แต่ก็เป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี (สาเหตุที่ถุงยางอนามัยอาจป้องกันหูดหงอนไก่ได้ไม่เต็มที่ นั่นเป็นเพราะว่าเชื้อเอชพีวีมักจะกระจายอยู่ทั่วไป ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่ถุงยางอนามัยครอบคลุมไม่ถึงนั่นเอง)

3.เมื่อพบรอยโรคต้องสงสัยหรือความผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นหูดหงอนไก่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาให้หายก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่บริเวณเนื้อเยื่อเมือกอื่น ๆ หรือการติดต่อสู่ผู้อื่น

4.ในปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์สำคัญออกมาในเข็มเดียวกัน คือ HPV 6, 11 ซึ่งเป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่ 90% และ HVP 16,18 ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณ 70% วัคซีนนี้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ย่อย 6, 11, 16, 18 ได้ประมาณ 99% หากฉีดก่อนการติดเชื้อ ดังนั้น จึงแนะนำให้ฉีดได้ทั้งในเด็กหญิงและเด็กชายที่มีอายุระหว่าง 11-12 ปี สำหรับการป้องกันหูดหงอนไก่ หลังจากฉีดวัคซีนแล้วก็ยังแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยต่อไปและมีเพศสัมพันธ์เฉพาะกับคู่นอนของตน เนื่องจากวัคซีน HPV 6, 11 นั้น สามารถป้องกันโรคนี้ได้ 90% ของผู้ติดเชื้อเฉพาะที่เกิดจาก HPV 6, 11 เท่านั้น (ส่วนการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจาก HPV 16, 18 นั้น แม้ว่าจะฉีดวัคซีนทำให้มีภูมิคุ้มกันไปแล้ว แต่ก็ควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำด้วย เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกมีอยู่หลายชนิด และอาจไม่ได้เกิดจาก HPV 16, 18 เพียงอย่างเดียว)

 



ปรึกษาหรือสนใจสั่งซื้อได้ที่

Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)

สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

หรือ  https://www.facebook.com/raksahood

วิธีรักษาหูดหงอนไก่

วิธีรักษาหูดหงอนไก่

ด้วยโครงสร้างของเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่ทำให้เชื้อนั้นไม่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของสิ่งแวดล้อมที่เชื้ออาศัยอยู่ได้ แพทย์จึงสามารถกำจัดเชื้อนี้ได้ด้วยการใช้ความร้อนจัด ความเย็นจัด หรือใช้ยาเคมีบำบัดบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหูดที่มีขนาดเล็กย่อมรักษาได้ง่ายกว่า โดยพบว่าถ้าหูดมีขนาดเล็กกว่า 1 ตารางเซนติเมตรก็มักจะรักษาด้วยยาได้สำเร็จ แต่ถ้าหูดมีขนาดใหญ่กว่านั้นก็อาจจะต้องเลือกใช้วิธีอื่นในการรักษาแทน

ส่วนประสิทธิภาพในการรักษาแต่ละวิธีก็แตกต่างกันไปและทุกวิธีก็มีโอกาสเกิดซ้ำขึ้นได้ โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกหลังสิ้นสุดการรักษา เพราะพบว่ามีผู้ป่วยมากกว่า 50-70% ที่ได้รับการรักษาจนหายแล้วกลับมาเป็นซ้ำอีกภายหลังหนึ่งปี ทั้งมาจากการติดเชื้อซ้ำใหม่หรือจากการกลับมาเป็นซ้ำจากเชื้อเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ในบริเวณเดิม แต่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงไม่ได้รับการรักษาให้หมดไปจากการรักษาในครั้งแรก และโดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งจะดื้อต่อการรักษาและมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้สูง

เป้าหมายในการรักษาโรคหูดหงอนไก่ คือ เพื่อความสวยงาม เพื่อบรรเทาอาการ และลดความกังวลใจของผู้ป่วย ส่วนวิธีในการรักษาก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบการใช้ยาหรือการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดหูดออกไป แพทย์เป็นผู้ทำให้หรือให้ผู้ป่วยทำเอง หากสงสัยว่าตนเองเป็นหูดหงอนไก่ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและเพื่อตรวจแยกโรคนี้ออกจากโรคอื่น ถ้าพบว่าเป็นหูดหงอนไก่จริง แพทย์อาจให้การรักษาโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้*


ทาด้วยยาโพโดฟิลลิน (Podophyllin) ชนิด 25% แต่ต้องระวังไม่ให้ถูกเนื้อดี โดยให้ใช้วาสลีนทาปิดเนื้อดีโดยรอบเอาไว้ก่อน หลังจากทายาประมาณ 4-6 ชั่วโมงแล้วให้ล้างออก และต้องทาซ้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจนกว่ารอยโรคจะหาย ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดของรอยโรค ตัวยานี้จะมีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ แต่ก็มีผลข้างเคียงคือ อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองหรือแสบบริเวณที่ทายาได้ แต่ถ้ารักษาด้วยวิธีนี้เกิน 2 เดือนแล้วยังไม่หายควรเปลี่ยนไปใช้วิธีการรักษาแบบอื่นแทน (ยานี้ห้ามใช้ในหูดหงอนไก่ที่ขึ้นบริเวณปากมดลูกหรือภายในช่องคลอดและห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ การรักษาด้วยวิธีนี้มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำประมาณ 20-35%



 

ปรึกษาหรือสนใจสั่งซื้อได้ที่

Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)

สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

หรือ  https://www.facebook.com/raksahood

 

ลักษณะของหูดหงอนไก่ รูปหูดหงอนไก่

ลักษณะของหูดหงอนไก่ 

หูดจะขึ้นเป็นติ่งเนื้องอกอ่อน ๆ มีสีชมพูหรือสีเนื้อ ผิวขรุขระ ซึ่งจะเริ่มจากรอยโรคเล็ก ๆ แล้วขยายตัวลุกลามใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนมีลักษณะคล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ บางชนิดอาจเป็นหูดชนิดแบนราบ มักพบได้ที่บริเวณปากมดลูก (ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ 16), อาจเป็นหูดชนิดกลุ่ม ลักษณะเป็นตุ่มขนาด 3-4 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลแดง ม่วง หรือดำ ผิวเรียบหรือขรุขระเล็กน้อย มักเกิดขึ้นที่เดียวพร้อมกันหลายตุ่มและอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม (ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ 16, 18) หรืออาจเป็นหูดก้อนใหญ่ โดยมีลักษณะเป็นหูดขนาดใหญ่ที่โตเร็วมาก จนกลายเป็นก้อนใหญ่ปกคลุมอวัยวะเพศไว้ทั้งหมด บางคนอาจเรียกหูดชนิดนี้ว่า "หูดยักษ์" (ส่วนใหญ่เกิดจากสายพันธุ์ 16) ลักษณะของรอยโรคจึงมีได้หลายรูปแบบทั้งขนาดและรูปร่างแตกต่างกันไป






 ปรึกษาหรือสนใจสั่งซื้อได้ที่

Line:  @uvi0521z (ใส่ @ ข้างหน้าด้วย)

สั่งทาง Line คลิก >>  https://line.me/R/ti/p/%40uvi0521z

หรือ  https://www.facebook.com/raksahood